วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิทธิพลจากสังคม

          สังคม คือ การอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ  ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้  สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน  แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม

        โครงสร้างทางสังคม   แบ่งออกเป็น 2  ส่วนคือ
สังคมชนบท
         จัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้างของสังคมไทยทั้งหมด  สังคมชนบท  ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัยของกลุ่มปฐมภูมิ  มีการติดต่อกันแบบตัวถึงตัว  สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของคนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมาก มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของชนบทหรือที่เราเรียกกันว่าจารีตนั่นเอง



สังคมเมือง  


         ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง ได้แก่ จำนวนกลุ่มขององค์การที่มีมากในสังคมเมืองหลวง หลักเกณฑ์การพิจารณาสถานภาพทางสังคมของบุคคลในเมืองหลวง ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจและความเกี่ยวข้องทางการเมือง และระดับการศึกษาซึ่งผิดจากเกณฑ์ของสังคมชนบท นอกจากนั้นแล้วโครงสร้างชนชั้นทางสังคมในเมืองหลวง คือประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าและขุนนาง ค่านิยมของคนเมืองหลวงนั้นจะเน้นหนักเรื่องอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่าชาวชนบท มีความต้องการยกระดับตัวเอง จากชั้นสังคมเดิมไปสู่ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะทางการเงิน  การศึกษา  อำนาจทางการเมือง และสิทธิต่างๆ
         ลักษณะมูลฐานของสังคมซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ หมายถึง องค์ประกอบหลัก (เสาหลัก) ของสังคมที่เป็นตัวค้ำยันสังคมไว้ให้พยายามสัมพันธ์ของคนในสังคมดำเนินไปได้ ประกอบไปด้วย
         - ค่านิยม (Social Value)                                     - บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)
         - สถานภาพ (Status)                                          - บทบาท (Role)
         - สถาบันทางสังคม (Social Organization)            - การควบคุมทางสังคม (Social Control)


         ลุ่มสังคม  หมายถึง  กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกัน มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม  เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในกลุ่มสังคมนั้น ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

          ถาบันสังคม  หมายถึง  รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมเพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่าง ๆ  และเพื่อการคงอยู่ของสังคมโดยรวม แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ  เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคมที่มีความชัดเจนแน่นอน และเป็นไปตามวัฒนธรรมของสังคม

สถาบันสังคม แยกได้ 5 สถาบัน ดังนี้
        1.  สถาบันครอบครัว  กลุ่มสังคมในสถาบันครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เช่น บิดา มารดา บุตร วงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องโดยสายโลหิต หรือการสมรส หรือมีบุตรบุญธรรม


         2.  สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
         กลุ่มสังคมในสถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  กลุ่มสังคมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคม เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น
                
         3. สถาบันศาสนา  หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปกติสุขโดยปฏิบัติตามคติความเชื่อ
         กลุ่มสังคมในสถาบันศาสนา  ที่สำคัญได้แก่ คณะสงฆ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคมต่างๆ กัน ต่างมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามสถานภาพทางสังคมดังกล่าว
        
          4. สถาบันเศรษฐกิจ  หมายถึง  สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางวัตถุ เพื่อการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ  การผลิตการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
         กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจ  กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจมีจำนวนมาก  เช่น  ร้านค้า โรงงานและองค์กรเศรษฐกิจต่าง ๆ  แต่ละกลุ่มสังคมเหล่านี้ประกอบไปด้วยตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ  ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เช่น  ผู้จัดการ พนักงาน กรรมกร เกษตรกร  เป็นต้น เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ดังกล่าว
      
          5.  สถาบันทางการเมืองการปกครอง  หมายถึง  สถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
         กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง  ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ  ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น  

1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos with cash, slot machines, scratch cards and roulette - DR MCD
    Find 과천 출장마사지 the best casinos that offer real money 서산 출장마사지 slots. We provide expert reviews of their 통영 출장마사지 games, casino games, 당진 출장샵 bonus codes, 제천 출장마사지 customer service and

    ตอบลบ