วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิทธิพลของครอบครัว

        ครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษยชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็นสถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ของสังคมและประเทศชาติ 
     ครอบครัว หมายถึง องค์กรที่มีขนาดเล็กที่สุดในสังคม ประกอบด้วยบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตหรือทางกฎหมาย โดยการสมรสหรือการรับรองบุตรเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งได้แก่ พ่อ แม่ บุตรและญาติพี่น้อง 
     ครอบครัวในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าจะแบ่งครอบครัวเป็นประเภทใหญ่ๆ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

1)ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะ ประกอบด้วยบิดา มารดาและบุตรเท่านั้น ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือทั้งทางสายโลหิตและทางกฎหมาย (การรับจดทะเบียนบุตรเป็นบุตรบุญธรรม) ขนาดของครอบครัวขึ้นอยู่กับจำนวนบุตรที่ถือกำเนิดจากบิดา มารดา ถึงแม้จะมีการรับบุตรบุญธรรมบ้าง ก็มีจำนวนไม่มาก สังคมสมัยใหม่ทั่วไปมักมีครอบครัวประเภทนี้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้กล่าวว่าสังคมใดมีความเจริญทางอุตสาหกรรมและการค้า ครอบครัวในสังคมนั้นจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ 


2)ครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมครอบครัวประเภทนี้มีพื้นฐานจากครอบครัวเดิมมาจากครอบครัวเฉพาะ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย บิดา มารดา และบุตร นอกจากนี้ยังมีญาติพี่น้องอื่น ๆ เป็นสมาชิกอาศัยร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ ลุง ป้า น้า อา และอาจจะมีหลานร่วมด้วย ครอบครัวขยายจึง มีสมาชิกมากกว่าครอบครัวเฉพาะ นอกจากครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมมีความแตกต่างกับครอบครัวเดี่ยวหรือ ครอบครัวเฉพาะในเรื่องของสมาชิกแล้ว ความสัมพันธ์และโครงสร้างระหว่างสมาชิกก็มีความแตกต่างกันด้วย ในสมัยก่อนครอบครัวของสังคมไทยมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายหรือ ครอบครัวเสริมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากการดำรงชีวิตของคนไทยในอดีต เป็นสังคมเกษตรกรรม ต้องอาศัยแรงงานจากครอบครัวในการทำเกษตร แต่ปัจจุบันของคนไทยเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายอาชีพ ทำให้ครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมมีมากขึ้นเช่นกัน แต่ข้อดีของครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมที่ น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะ เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบันสามีภรรยามักออกทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ลูกจ้างที่ต้องเลี้ยงดูบุตรที่ยังเล็กอยู่หาได้ยากหรืออาจได้ลูกจ้างที่ ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลทำให้บุตรเจริญเติบโตมาด้วยความว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ถ้ามีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ด้วยแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมก็สามารถ ดูแลให้การอบรมคุณธรรม จริยธรรม ด้วยความรักความเอาใจใส่ ทำให้บุตรเจริญเติบโตเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ ซึ่งบิดาและมารดาที่มีภาระหน้าที่พิเศษทางสังคมเป็นจำนวนมากไม่สามารถทำได้ 



     แต่ละครอบครัวทั้งครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยวมีสมาชิกอาศัยและปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน สมาชิกในครอบครัวจึงมีความสัมพันธ์กันในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

1)สามีและภรรยา มีความสัมพันธ์บนพื้นฐานความต้องการทางเพศของมนุษย์ คือ การมีเพศสัมพันธ์ ความรับผิดชอบร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลบุตรหรือผู้สูงอายุในครอบครัว การให้ความช่วยเหลือญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายตามสมควร โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การหารายได้สู่ครอบครัว การร่วมกันคิดตัดสินใจในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของครอบครัวและการให้ความรักความอบอุ่น ทางด้านจิตใจซึ่งกันและกัน  

2)พ่อ แม่ และลูก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่กับลูกนั้น มีตั้งแต่ลูกเกิด พ่อแม่มีหน้าที่ให้การเลี้ยงดูส่งเสริมการเรียนและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนลูกก็มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในสังคมไทย พ่อแม่จะดูแลลูกเมื่อลูกยังเด็ก และเมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมาดูแลพ่อแม่อีกที 

3)พี่น้องจะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเพราะว่าเติบโตมาด้วยกันอยู่ในครอบ ครัวเดียวกัน มีความรัก ความอบอุ่นร่วมกัน พี่น้องจึงมักให้การช่วยเหลือกันในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ

4)เครือญาติเป็นสถานะของครอบครัวที่มีการขยายหรือกระจายกว้างขวางออกไป เช่น ญาติฝ่ายสามี ญาติฝ่ายภรรยาหรือกรณีนามสกุลเดียวกัน ความช่วยเหลือหรือความสัมพันธ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ ความสนิทสนมในการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน หากสนิทกันมากก็จะให้ความช่วยเหลือกันเช่นเดียวกับ พี่น้อง

อิทธิพลจากเพื่อน

เพื่อนคืออะไร

เพื่อน  คือพันธสัญญาแห่งความเข้าใจที่ตรงกัน

พื่อน  คือบุคคลที่คบกับเราในลักษณะที่เราเป็นอยู่  โดยที่เราไม่ต้องใส่หน้ากาก

เพื่อน  คือมิตรแท้ที่กล้าให้คำมั่นสัญญาต่อมิตรได้

เพื่อน  คือมิตรที่พยายามส่งเสริมเรา  ให้ความสนใจเรา  เชื่อในตัวเราตามที่เราเป็นจริง

เพื่อน  คือคนที่ยังอยู่กับเรา ร่วมทุกข์ร่วมสุขแม้ในเวลาที่เราไม่เหลืออะไร

เพื่อน  คือคนที่รักเรา แม้เราจะทำสิ่งไม่ดีที่สุด  แต่ศัตรูเกลียดเรา แม้เราจะทำแต่สิ่งที่เขาก็รู้ว่าดีที่สุด

เพื่อน  คือคนที่เข้าใจเราได้โดยไม่จำเป็นต้องพูดมากเพราะเขาคุ้นเคย  และรู้จักความคิดความอ่านของเรา แค่มองหน้าก็รู้ปัญหา แค่มองตาก็เข้าใจ

เพื่อน  คือผู้ที่หาโอกาสช่วยจัดสรรอย่างเต็มที่โดยที่เราไม่ต้องเอ่ยปากขอ

พื่อน  คือบุคคลที่เราสามารถฝากชีวิตจิตใจได้โดยเฉพาะยามทุกข์ลำบาก

เพื่อน  คือคนที่ไม่ได้เห็นผิดเป็นชอบ แต่ตักเตือนเราไม่ให้หลงผิดและแนะนำทิศให้ถูกทาง

เพื่อน  คือคนที่ไม่ได้เห็นด้วยกับเราในทุกอย่างทุกครั้ง แต่เป็นคนที่คิดพิจารณาและตักเตือนเราด้วยในบางครั้ง

เพื่อน  คือคนที่ช่วยเราด้วยความเต็มใจ

เพื่อน  คือคนที่ก้าวเหยียดอย่างสุดกำลังเพื่อช่วยเรา



วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิทธิพลจากสังคม

          สังคม คือ การอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ  ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้  สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน  แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม

        โครงสร้างทางสังคม   แบ่งออกเป็น 2  ส่วนคือ
สังคมชนบท
         จัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้างของสังคมไทยทั้งหมด  สังคมชนบท  ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัยของกลุ่มปฐมภูมิ  มีการติดต่อกันแบบตัวถึงตัว  สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของคนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมาก มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของชนบทหรือที่เราเรียกกันว่าจารีตนั่นเอง



สังคมเมือง  


         ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง ได้แก่ จำนวนกลุ่มขององค์การที่มีมากในสังคมเมืองหลวง หลักเกณฑ์การพิจารณาสถานภาพทางสังคมของบุคคลในเมืองหลวง ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจและความเกี่ยวข้องทางการเมือง และระดับการศึกษาซึ่งผิดจากเกณฑ์ของสังคมชนบท นอกจากนั้นแล้วโครงสร้างชนชั้นทางสังคมในเมืองหลวง คือประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าและขุนนาง ค่านิยมของคนเมืองหลวงนั้นจะเน้นหนักเรื่องอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่าชาวชนบท มีความต้องการยกระดับตัวเอง จากชั้นสังคมเดิมไปสู่ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะทางการเงิน  การศึกษา  อำนาจทางการเมือง และสิทธิต่างๆ
         ลักษณะมูลฐานของสังคมซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ หมายถึง องค์ประกอบหลัก (เสาหลัก) ของสังคมที่เป็นตัวค้ำยันสังคมไว้ให้พยายามสัมพันธ์ของคนในสังคมดำเนินไปได้ ประกอบไปด้วย
         - ค่านิยม (Social Value)                                     - บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)
         - สถานภาพ (Status)                                          - บทบาท (Role)
         - สถาบันทางสังคม (Social Organization)            - การควบคุมทางสังคม (Social Control)


         ลุ่มสังคม  หมายถึง  กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกัน มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม  เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในกลุ่มสังคมนั้น ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

          ถาบันสังคม  หมายถึง  รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมเพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่าง ๆ  และเพื่อการคงอยู่ของสังคมโดยรวม แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ  เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคมที่มีความชัดเจนแน่นอน และเป็นไปตามวัฒนธรรมของสังคม

สถาบันสังคม แยกได้ 5 สถาบัน ดังนี้
        1.  สถาบันครอบครัว  กลุ่มสังคมในสถาบันครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เช่น บิดา มารดา บุตร วงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องโดยสายโลหิต หรือการสมรส หรือมีบุตรบุญธรรม


         2.  สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
         กลุ่มสังคมในสถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  กลุ่มสังคมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคม เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น
                
         3. สถาบันศาสนา  หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปกติสุขโดยปฏิบัติตามคติความเชื่อ
         กลุ่มสังคมในสถาบันศาสนา  ที่สำคัญได้แก่ คณะสงฆ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคมต่างๆ กัน ต่างมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามสถานภาพทางสังคมดังกล่าว
        
          4. สถาบันเศรษฐกิจ  หมายถึง  สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางวัตถุ เพื่อการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ  การผลิตการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
         กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจ  กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจมีจำนวนมาก  เช่น  ร้านค้า โรงงานและองค์กรเศรษฐกิจต่าง ๆ  แต่ละกลุ่มสังคมเหล่านี้ประกอบไปด้วยตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ  ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เช่น  ผู้จัดการ พนักงาน กรรมกร เกษตรกร  เป็นต้น เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ดังกล่าว
      
          5.  สถาบันทางการเมืองการปกครอง  หมายถึง  สถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
         กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง  ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ  ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น